วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559

จงรักภักดี


ตลอดระยะเวลาอันยาวนานของประวัติศาสตร์ไทย เราจะเห็นว่าสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันหลักที่ยึดเหนี่ยวชาติของเราทุก ยุคทุกสมัย และพระมหากษัตริย์ไทยแต่ละองค์นั้นก็ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อปวงชนชาว ไทยอย่างหาที่สุดมิได้  ด้วยเหตุนี้ผมจึงไม่แปลกใจเลยที่ทุกหนทุกแห่งในแผ่นดินไทยจะสามารถสัมผัสถึง ความจงรักภักดีของประชาชนชาวไทยที่มีต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหัวรัชกาลปัจจุบัน







 ผมเชื่อว่าคนไทยหลายคนอาจเคยได้อ่านหรือได้ฟังความยิ่งใหญ่ของพระราชาจากใน นิทานเราจะเห็นได้ว่าพระราชาในนิทานนั้นล้วนมีคุณธรรม มีความกล้าหาญ มีความสามารถมากมายสิ่งทั้งหลายเหล่านี้







ก็เป็นเพียงนิทาน สอนใจเราถึงแบบอย่างกษัตริย์ที่ทรงไว้ทศพิธราชธรรม แต่สำหรับผมนั้นยังมีจอมกษัตริย์ผู้ทรงพระปรีชาอยู่พระองค์หนึ่งที่มิใช่ เป็นเพียงจอมกษัตริย์ในนิทานนั่นคือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุ ยเดช “ พ่อ “ที่ปวงชนชาวไทยต่างรักและภักดีอย่างสุดหัวใจ ตลอดเวลาที่พระองค์ทรงครองราชย์นั้นไม่มีแม้เพียงสักครั้งที่จะไม่เห็น พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมประชาชนของพระองค์ในถิ่นทุรกันดาร จนอาจกล่าวได้ว่าแผ่นดินไทยตั้งแต่เหนือจรดใต้ยังไม่มีที่ใดที่พระองค์จะ เสด็จไปไม่ถึง ความยิ่งใหญ่ของพระองค์จึงมิใช่สิ่งที่เราอ่านพบในนิทานเท่านั้น เพราะพระองค์ได้ทรงเป็นแบบอย่างแห่งจอมกษัตริย์ผู้เปี่ยมไปด้วยทศพิธราชธรรม ผมจึงรู้ซึ้งถึงคำมั่นสัญญาที่พระองค์ทรงให้ไว้กับปวงชนชาวไทยที่ว่า





“ เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวไทย ” บัดนี้ได้เป็นที่ประจักษ์ต่อพสกนิกรชาวไทยของพระองค์แล้วว่า พระองค์ได้ทรงกระทำตามคำมั่นสัญญาที่ได้ให้ไว้กับพสกนิกรของพระองค์มิได้ บกพร่องแต่ประการใด





 สิ่งหนึ่งที่ทำให้ผมรู้สึกรักและเทิดทูนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคงไม่พ้น “ ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ” ผมมีความชื่นชมในแนวคิดของทฤษฎีเนื่องจากเป็นทฤษฎีการสร้างความสุขให้กับตัว เองได้ ดำรงชีวิตได้โดยไม่เดือดร้อนประเทศไทยเองก็เคยได้รับบทเรียนจากวิกฤตต้มยำ กุ้งมาแล้วก็ควรที่จะน้อมรับเอาทฤษฎีนี้้ไปปรับใช้กับตนเอง คอยเตือนสติตนเองว่าวิกฤษที่เกิดขึ้นครั้งนั้นเกิดจากการที่เราก้าวไปเร็ว เกินไป ความฟุ่มเฟือยแสวงหาไม่รู้จักพอเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้เราต้อง เดือดร้อน พระองค์จึงสอนให้คนไทยมี "ความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดี" ความพอเพียงพอประมาณก็คือให้เราสำรวจตัวเองว่าเรามีกำลังทรัพย์เท่าไร ควรพอได้หรือยัง ความมีเหตุผลก็คือการที่เราต้องคิดให้รอบคอบว่าสิ่งที่เราต้องการนั้นมีความ จำเป็นมากน้อยเพียงใด สุดท้ายคือการมีภูมิคุ้มกันที่ดีรู้จักระงับยับยั้งความอยากได้อยากมีของตน เอาไว้ เลือกเดินทางสายกลาง ซึ่งสิ่งเหล่านี้พระองค์ได้ทรงสั่งสอนให้คนไทยทุกคนได้รับรู้รับทราบโดยทั่ว กันแล้วว่าเป็นแนวทางการสร้างความสุขให้กับตนเองโดยไม่ต้องแลกมาด้วยสิ่งใด



นอกจากนี้พระองค์ยังได้ทรงให้ความสำคัญกับ"เกษตรทฤษฎีใหม่"โดยได้ทรงเปลี่ยน พระราชวังของพระองค์เองให้กลายเป็นแปลงสาธิตการเกษตร ทรงทำการทดลองเลี้ยงโคนม ปลานิล ทรงปลูกข้าวด้วยพระองค์เอง พระองค์จึงเป็นกษัตริย์พระองค์เดียวในโลกที่ทรงทำการเกษตรด้วยพระองค์เองและ ทรงเปลี่ยนพระราชวังของพระองค์ให้กลายเป็นแปลงสาธิตเกษตร พระองคืจึงเป็นจอมกษัตริยืผู้อุทิศตนเพื่อปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริง เมื่อได้ความรู้ใหม่มานั้นพระองค์ก็ยังทรงถ่ายทอดวิทยาการต่าง ๆที่ทรงได้ทดลองมานั้นให้กับเกษตรกรชาวไทย ส่งเสริมให้เกิดโครงการต่าง ๆขึ้นมากมายสร้างอาชีพ สร้ารายได้ กระจายสู่สังคมอย่างทั่วถึงส่งผลให้ลูกหลานชาวไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและ ยังทรงให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาจากภัยธรรมชาติอันเกิดจากสภาพแวดล้อมใน ภูมิภาคต่าง ๆทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างฝายชะลอน้ำ การปลูกกำแพงหญ้าแฝกพลิกฟื้นสภาพดิน การปลูกป่าชายเลนป้องกันน้ำทะเลกัดเซาะ โครงการฝนหลวง การบำบัดน้ำเสียในแม่น้ำด้วยผักตบชวา พระอัจฉริยภาพของพระองค์ในด้านการสร้างสรรค์และแก้ไขปัญหาของพระองค์จึงเป็น ที่ยอมรับจากคนทั่วทั้งโลกว่าพระองค์ทรงเป็น "ยอกกษัตริย์นักพัฒนา ผู้ประสบความสำเร็จในการพัฒนามนุษย์อย่างยั่งยืน" แม้เวลาจะผ่านล่วงเลยมากว่า 64 ปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงงานอย่างหนัดเพื่อพสกนิกรชาวไทยของ พระองค์ แต่พระราชกรณียกิจ พระจริยวัตรอันงดงามที่พระองค์ทรงยึดถือปฏิบัติมาตลอดจะเป็นแบบอย่างจอม กษัตริย์ผู้ปี่ยมไปด้วยทศพิธราชธรรม เราในฐานะพสกนิกรชาวไทยผู้จงรักภักดีจึงควรถามตนเองได้แล้วว่าจะทำอย่างไร ให้กับประเทศไทยมีความสงบสุข และร่วมเป็นกำลังสำคัญในการสร้างสรรค์สิ่งดีงามตามแนวพระราชดำริของพระองค์ ท่านให้อยู่คู่กับผืนแผ่นดินไทยตราบนานเท่านาน


ขอบคูณที่มา:http://webboard.sanook.com/forum/?topic=3347626

วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559

คำพ่อสอน

 ๙ คำพ่อสอน

 1. ความเพียร
การสร้างสรรค์ตนเอง การสร้างบ้านเมืองก็ตาม มิใช่ว่าสร้างในวันเดียว ต้องใช้เวลา ต้องใช้ความเพียร ต้องใช้ความอดทน เสียสละ แต่สำคัญที่สุดคือความอดทนคือไม่ย่อท้อ ไม่ย่อท้อในสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่ดีงามนั้นทำมันน่าเบื่อ บางทีเหมือนว่าไม่ได้ผล ไม่ดัง คือดูมันครึทำดีนี่ แต่ขอรับรองว่าการทำให้ดีไม่ครึต้องมีความอดทน เวลาข้างหน้าจะเห็นผลแน่นอนในความอดทนของตนเอง
พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นักเรียน นักศึกษา ครู และอาจารย์ในโอกาสเข้าเฝ้าฯวันที่ 27 ตุลาคม 2516
 
 

 

 

 

 
2. ความพอดี
 ในการสร้างตัวสร้างฐานะนั้นจะต้องถือหลักค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังและความพอเหมาะพอดี ไม่ทำเกินฐานะและกำลัง หรือทำด้วยความเร่งรีบ เมื่อมีพื้นฐานแน่นหนารองรับพร้อมแล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญก้าวหน้าในระดับสูงขึ้น ตามต่อกันไปเป็นลำดับผลที่เกิดขึ้นจึงจะแน่นอน มีหลักเกณฑ์ เป็นประโยชน์แท้และยั่งยืน
พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 18 ธันวาคม 2540
 
 

 

 

 

 
3. ความรู้ตน
 เด็กๆ ทำอะไรต้องหัดให้รู้ตัว การรู้ตัวอยู่เสมอจะทำให้เป็นคนมีระเบียบและคนที่มีระเบียบดีแล้ว จะสามารถเล่าเรียนและทำการงานต่างๆ ได้โดยถูกต้องรวดเร็ว จะเป็นคนที่จะสร้างความสำเร็จและความเจริญ ให้แก่ตนเองและส่วนรวมในอนาคตได้อย่างแน่นอน
พระบรมราโชวาท พระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือ วันเด็ก ประจำปี 2521
 
 

 

 

 
4. คนเราจะต้องรับและจะต้องให้
 คนเราจะเอาแต่ได้ไม่ได้ คนเราจะต้องรับและจะต้องให้ หมายความว่าต่อไป และเดี๋ยวนี้ด้วยเมื่อรับสิ่งของใดมา ก็จะต้องพยายามให้ ในการให้นั้น ให้ได้โดยพยายามที่จะสร้างความสามัคคีให้หมู่คณะและในชาติ ทำให้หมู่คณะและชาติประชาชนทั้งหลายมีความไว้ใจซึ่งกันและกันได้ ช่วยที่ไหนได้ก็ช่วย ด้วยจิตใจที่เผื่อแผ่โดยแท้
พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 20 เมษายน 2521
 
 

 

 

 
5. อ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ
ในวงสังคมนั้นเล่า ท่านจะต้องรักษามารยาทอันดีงามสำหรับสุภาพชน รู้จักสัมมาคารวะ ไม่แข็งกระด้าง มีความอ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ พร้อมจะเสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อส่วนรวม
พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 25 มิถุนายน 2496
 
 





6. พูดจริง ทำจริง
 ผู้หนักแน่นในสัจจะพูดอย่างไร ทำอย่างนั้น จึงได้รับความสำเร็จ พร้อมทั้งความศรัทธาเชื่อถือและความยกย่องสรรเสริญ จากคนทุกฝ่าย การพูดแล้วทำ คือ พูดจริง ทำจริง จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมเกียรติคุณของบุคคลให้เด่นชัด และสร้างเสริมความดี ความเจริญ ให้เกิดขึ้นทั้งแก่บุคคลและส่วนรวม
พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 10 กรกฎาคม 2540
 

 
 
 


 
7. หนังสือเป็นออมสิน
 หนังสือเป็นการสะสมความรู้และทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ได้ สร้างมา ทำมา คิดมา แต่โบราณกาลจนทุกวันนี้ หนังสือจึงเป็นสิ่งสำคัญ เป็นคล้ายๆ ธนาคารความรู้และเป็นออมสิน เป็นสิ่งที่จะทำให้ มนุษย์ก้าวหน้าได้โดยแท้
พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่คณะสมาชิกห้องสมุดทั่วประเทศ ในโอกาสที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท วันที่ 25 พฤศจิกายน 2514
 
 
 

 

 
8. ความซื่อสัตย์
 ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐานของความดีทุกอย่าง เด็กๆ จึงต้องฝึกฝนอบรมให้เกิดมีขึ้นในตนเอง เพื่อจักได้เติบโตขึ้นเป็นคนดีมีประโยชน์ และมีชีวิตที่สะอาด ที่เจริญมั่นคง
พระบรมราโชวาท พระราชทานเพื่อเชิญลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็ก ปี พุทธศักราช 2531
 
 
 

 

 
9. การเอาชนะใจตน
 ในการดำเนินชีวิตของเรา เราต้องข่มใจไม่กระทำสิ่งใดๆ ที่เรารู้สึกด้วยใจจริงว่าชั่วว่าเสื่อม เราต้องฝืนต้องต้านความคิดและความประพฤติทุกอย่างที่รู้สึกว่าขัดกับธรรมะ เราต้องกล้าและบากบั่นที่จะกระทำสิ่งที่เราทราบว่าเป็นความดี เป็นความถูกต้อง และเป็นธรรม ถ้าเราร่วมกันทำเช่นนี้ ให้ได้จริงๆ ให้ผลของความดีบังเกิดมากขึ้นๆ ก็จะช่วยค้ำจุนส่วนรวมไว้มิให้เสื่อมลงไป และจะช่วยให้ฟื้นคืนดีขึ้นได้เป็นลำดับ
พระราชดำรัส พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่าน ในพิธีเปิดการประชุมยุวพุทธิกสมาคมทั่วประเทศ ครั้งที่ 12
 
ขอบคุณที่มา:http://pk-phuchohg.blogspot.com/