วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559

จงรักภักดี


ตลอดระยะเวลาอันยาวนานของประวัติศาสตร์ไทย เราจะเห็นว่าสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันหลักที่ยึดเหนี่ยวชาติของเราทุก ยุคทุกสมัย และพระมหากษัตริย์ไทยแต่ละองค์นั้นก็ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อปวงชนชาว ไทยอย่างหาที่สุดมิได้  ด้วยเหตุนี้ผมจึงไม่แปลกใจเลยที่ทุกหนทุกแห่งในแผ่นดินไทยจะสามารถสัมผัสถึง ความจงรักภักดีของประชาชนชาวไทยที่มีต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหัวรัชกาลปัจจุบัน







 ผมเชื่อว่าคนไทยหลายคนอาจเคยได้อ่านหรือได้ฟังความยิ่งใหญ่ของพระราชาจากใน นิทานเราจะเห็นได้ว่าพระราชาในนิทานนั้นล้วนมีคุณธรรม มีความกล้าหาญ มีความสามารถมากมายสิ่งทั้งหลายเหล่านี้







ก็เป็นเพียงนิทาน สอนใจเราถึงแบบอย่างกษัตริย์ที่ทรงไว้ทศพิธราชธรรม แต่สำหรับผมนั้นยังมีจอมกษัตริย์ผู้ทรงพระปรีชาอยู่พระองค์หนึ่งที่มิใช่ เป็นเพียงจอมกษัตริย์ในนิทานนั่นคือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุ ยเดช “ พ่อ “ที่ปวงชนชาวไทยต่างรักและภักดีอย่างสุดหัวใจ ตลอดเวลาที่พระองค์ทรงครองราชย์นั้นไม่มีแม้เพียงสักครั้งที่จะไม่เห็น พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมประชาชนของพระองค์ในถิ่นทุรกันดาร จนอาจกล่าวได้ว่าแผ่นดินไทยตั้งแต่เหนือจรดใต้ยังไม่มีที่ใดที่พระองค์จะ เสด็จไปไม่ถึง ความยิ่งใหญ่ของพระองค์จึงมิใช่สิ่งที่เราอ่านพบในนิทานเท่านั้น เพราะพระองค์ได้ทรงเป็นแบบอย่างแห่งจอมกษัตริย์ผู้เปี่ยมไปด้วยทศพิธราชธรรม ผมจึงรู้ซึ้งถึงคำมั่นสัญญาที่พระองค์ทรงให้ไว้กับปวงชนชาวไทยที่ว่า





“ เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวไทย ” บัดนี้ได้เป็นที่ประจักษ์ต่อพสกนิกรชาวไทยของพระองค์แล้วว่า พระองค์ได้ทรงกระทำตามคำมั่นสัญญาที่ได้ให้ไว้กับพสกนิกรของพระองค์มิได้ บกพร่องแต่ประการใด





 สิ่งหนึ่งที่ทำให้ผมรู้สึกรักและเทิดทูนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคงไม่พ้น “ ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ” ผมมีความชื่นชมในแนวคิดของทฤษฎีเนื่องจากเป็นทฤษฎีการสร้างความสุขให้กับตัว เองได้ ดำรงชีวิตได้โดยไม่เดือดร้อนประเทศไทยเองก็เคยได้รับบทเรียนจากวิกฤตต้มยำ กุ้งมาแล้วก็ควรที่จะน้อมรับเอาทฤษฎีนี้้ไปปรับใช้กับตนเอง คอยเตือนสติตนเองว่าวิกฤษที่เกิดขึ้นครั้งนั้นเกิดจากการที่เราก้าวไปเร็ว เกินไป ความฟุ่มเฟือยแสวงหาไม่รู้จักพอเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้เราต้อง เดือดร้อน พระองค์จึงสอนให้คนไทยมี "ความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดี" ความพอเพียงพอประมาณก็คือให้เราสำรวจตัวเองว่าเรามีกำลังทรัพย์เท่าไร ควรพอได้หรือยัง ความมีเหตุผลก็คือการที่เราต้องคิดให้รอบคอบว่าสิ่งที่เราต้องการนั้นมีความ จำเป็นมากน้อยเพียงใด สุดท้ายคือการมีภูมิคุ้มกันที่ดีรู้จักระงับยับยั้งความอยากได้อยากมีของตน เอาไว้ เลือกเดินทางสายกลาง ซึ่งสิ่งเหล่านี้พระองค์ได้ทรงสั่งสอนให้คนไทยทุกคนได้รับรู้รับทราบโดยทั่ว กันแล้วว่าเป็นแนวทางการสร้างความสุขให้กับตนเองโดยไม่ต้องแลกมาด้วยสิ่งใด



นอกจากนี้พระองค์ยังได้ทรงให้ความสำคัญกับ"เกษตรทฤษฎีใหม่"โดยได้ทรงเปลี่ยน พระราชวังของพระองค์เองให้กลายเป็นแปลงสาธิตการเกษตร ทรงทำการทดลองเลี้ยงโคนม ปลานิล ทรงปลูกข้าวด้วยพระองค์เอง พระองค์จึงเป็นกษัตริย์พระองค์เดียวในโลกที่ทรงทำการเกษตรด้วยพระองค์เองและ ทรงเปลี่ยนพระราชวังของพระองค์ให้กลายเป็นแปลงสาธิตเกษตร พระองคืจึงเป็นจอมกษัตริยืผู้อุทิศตนเพื่อปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริง เมื่อได้ความรู้ใหม่มานั้นพระองค์ก็ยังทรงถ่ายทอดวิทยาการต่าง ๆที่ทรงได้ทดลองมานั้นให้กับเกษตรกรชาวไทย ส่งเสริมให้เกิดโครงการต่าง ๆขึ้นมากมายสร้างอาชีพ สร้ารายได้ กระจายสู่สังคมอย่างทั่วถึงส่งผลให้ลูกหลานชาวไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและ ยังทรงให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาจากภัยธรรมชาติอันเกิดจากสภาพแวดล้อมใน ภูมิภาคต่าง ๆทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างฝายชะลอน้ำ การปลูกกำแพงหญ้าแฝกพลิกฟื้นสภาพดิน การปลูกป่าชายเลนป้องกันน้ำทะเลกัดเซาะ โครงการฝนหลวง การบำบัดน้ำเสียในแม่น้ำด้วยผักตบชวา พระอัจฉริยภาพของพระองค์ในด้านการสร้างสรรค์และแก้ไขปัญหาของพระองค์จึงเป็น ที่ยอมรับจากคนทั่วทั้งโลกว่าพระองค์ทรงเป็น "ยอกกษัตริย์นักพัฒนา ผู้ประสบความสำเร็จในการพัฒนามนุษย์อย่างยั่งยืน" แม้เวลาจะผ่านล่วงเลยมากว่า 64 ปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงงานอย่างหนัดเพื่อพสกนิกรชาวไทยของ พระองค์ แต่พระราชกรณียกิจ พระจริยวัตรอันงดงามที่พระองค์ทรงยึดถือปฏิบัติมาตลอดจะเป็นแบบอย่างจอม กษัตริย์ผู้ปี่ยมไปด้วยทศพิธราชธรรม เราในฐานะพสกนิกรชาวไทยผู้จงรักภักดีจึงควรถามตนเองได้แล้วว่าจะทำอย่างไร ให้กับประเทศไทยมีความสงบสุข และร่วมเป็นกำลังสำคัญในการสร้างสรรค์สิ่งดีงามตามแนวพระราชดำริของพระองค์ ท่านให้อยู่คู่กับผืนแผ่นดินไทยตราบนานเท่านาน


ขอบคูณที่มา:http://webboard.sanook.com/forum/?topic=3347626

วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559

คำพ่อสอน

 ๙ คำพ่อสอน

 1. ความเพียร
การสร้างสรรค์ตนเอง การสร้างบ้านเมืองก็ตาม มิใช่ว่าสร้างในวันเดียว ต้องใช้เวลา ต้องใช้ความเพียร ต้องใช้ความอดทน เสียสละ แต่สำคัญที่สุดคือความอดทนคือไม่ย่อท้อ ไม่ย่อท้อในสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่ดีงามนั้นทำมันน่าเบื่อ บางทีเหมือนว่าไม่ได้ผล ไม่ดัง คือดูมันครึทำดีนี่ แต่ขอรับรองว่าการทำให้ดีไม่ครึต้องมีความอดทน เวลาข้างหน้าจะเห็นผลแน่นอนในความอดทนของตนเอง
พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นักเรียน นักศึกษา ครู และอาจารย์ในโอกาสเข้าเฝ้าฯวันที่ 27 ตุลาคม 2516
 
 

 

 

 

 
2. ความพอดี
 ในการสร้างตัวสร้างฐานะนั้นจะต้องถือหลักค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังและความพอเหมาะพอดี ไม่ทำเกินฐานะและกำลัง หรือทำด้วยความเร่งรีบ เมื่อมีพื้นฐานแน่นหนารองรับพร้อมแล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญก้าวหน้าในระดับสูงขึ้น ตามต่อกันไปเป็นลำดับผลที่เกิดขึ้นจึงจะแน่นอน มีหลักเกณฑ์ เป็นประโยชน์แท้และยั่งยืน
พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 18 ธันวาคม 2540
 
 

 

 

 

 
3. ความรู้ตน
 เด็กๆ ทำอะไรต้องหัดให้รู้ตัว การรู้ตัวอยู่เสมอจะทำให้เป็นคนมีระเบียบและคนที่มีระเบียบดีแล้ว จะสามารถเล่าเรียนและทำการงานต่างๆ ได้โดยถูกต้องรวดเร็ว จะเป็นคนที่จะสร้างความสำเร็จและความเจริญ ให้แก่ตนเองและส่วนรวมในอนาคตได้อย่างแน่นอน
พระบรมราโชวาท พระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือ วันเด็ก ประจำปี 2521
 
 

 

 

 
4. คนเราจะต้องรับและจะต้องให้
 คนเราจะเอาแต่ได้ไม่ได้ คนเราจะต้องรับและจะต้องให้ หมายความว่าต่อไป และเดี๋ยวนี้ด้วยเมื่อรับสิ่งของใดมา ก็จะต้องพยายามให้ ในการให้นั้น ให้ได้โดยพยายามที่จะสร้างความสามัคคีให้หมู่คณะและในชาติ ทำให้หมู่คณะและชาติประชาชนทั้งหลายมีความไว้ใจซึ่งกันและกันได้ ช่วยที่ไหนได้ก็ช่วย ด้วยจิตใจที่เผื่อแผ่โดยแท้
พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 20 เมษายน 2521
 
 

 

 

 
5. อ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ
ในวงสังคมนั้นเล่า ท่านจะต้องรักษามารยาทอันดีงามสำหรับสุภาพชน รู้จักสัมมาคารวะ ไม่แข็งกระด้าง มีความอ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ พร้อมจะเสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อส่วนรวม
พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 25 มิถุนายน 2496
 
 





6. พูดจริง ทำจริง
 ผู้หนักแน่นในสัจจะพูดอย่างไร ทำอย่างนั้น จึงได้รับความสำเร็จ พร้อมทั้งความศรัทธาเชื่อถือและความยกย่องสรรเสริญ จากคนทุกฝ่าย การพูดแล้วทำ คือ พูดจริง ทำจริง จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมเกียรติคุณของบุคคลให้เด่นชัด และสร้างเสริมความดี ความเจริญ ให้เกิดขึ้นทั้งแก่บุคคลและส่วนรวม
พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 10 กรกฎาคม 2540
 

 
 
 


 
7. หนังสือเป็นออมสิน
 หนังสือเป็นการสะสมความรู้และทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ได้ สร้างมา ทำมา คิดมา แต่โบราณกาลจนทุกวันนี้ หนังสือจึงเป็นสิ่งสำคัญ เป็นคล้ายๆ ธนาคารความรู้และเป็นออมสิน เป็นสิ่งที่จะทำให้ มนุษย์ก้าวหน้าได้โดยแท้
พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่คณะสมาชิกห้องสมุดทั่วประเทศ ในโอกาสที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท วันที่ 25 พฤศจิกายน 2514
 
 
 

 

 
8. ความซื่อสัตย์
 ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐานของความดีทุกอย่าง เด็กๆ จึงต้องฝึกฝนอบรมให้เกิดมีขึ้นในตนเอง เพื่อจักได้เติบโตขึ้นเป็นคนดีมีประโยชน์ และมีชีวิตที่สะอาด ที่เจริญมั่นคง
พระบรมราโชวาท พระราชทานเพื่อเชิญลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็ก ปี พุทธศักราช 2531
 
 
 

 

 
9. การเอาชนะใจตน
 ในการดำเนินชีวิตของเรา เราต้องข่มใจไม่กระทำสิ่งใดๆ ที่เรารู้สึกด้วยใจจริงว่าชั่วว่าเสื่อม เราต้องฝืนต้องต้านความคิดและความประพฤติทุกอย่างที่รู้สึกว่าขัดกับธรรมะ เราต้องกล้าและบากบั่นที่จะกระทำสิ่งที่เราทราบว่าเป็นความดี เป็นความถูกต้อง และเป็นธรรม ถ้าเราร่วมกันทำเช่นนี้ ให้ได้จริงๆ ให้ผลของความดีบังเกิดมากขึ้นๆ ก็จะช่วยค้ำจุนส่วนรวมไว้มิให้เสื่อมลงไป และจะช่วยให้ฟื้นคืนดีขึ้นได้เป็นลำดับ
พระราชดำรัส พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่าน ในพิธีเปิดการประชุมยุวพุทธิกสมาคมทั่วประเทศ ครั้งที่ 12
 
ขอบคุณที่มา:http://pk-phuchohg.blogspot.com/

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ตามรอยพ่อ







เศรษฐกิจพอเพียง” (Sufficiency Economy) เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด
รวมถึงการพัฒนาและบริหารประเทศ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ทางสายกลาง คำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล
การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจที่หลากหลายและไม่ชัดเจน ถึงความหมายและหลักแนวคิดที่แท้จริงของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จึงได้จัดทำหนังสือ “เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร” ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะอธิบายความหมายของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งกรอบแนวคิดของหลักปรัชญาฯ ที่มุ่งเน้นความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา อันมีคุณลักษณะ ที่สำคัญ คือ สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับ ตลอดจนได้อธิบายคำนิยามของความพอเพียง ที่ประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ภายใต้เงื่อนไขของการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมที่ต้องอาศัยเงื่อนไขความรู้และเงื่อนไขคุณธรรม
นอกจากนี้ ภายในหนังสือเล่มนี้ยังได้กล่าวถึง ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และเป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม โดยแบ่งได้เป็นแบบพื้นฐานกับแบบก้าวหน้า ซึ่งมีอยู่ ๓ ขั้น และในตอนท้ายของหนังสือยังได้สรุปถึงการสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงที่ สศช. ได้ริเริ่มดำเนินการเพื่อเป็นการเสริมสร้างให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาไปได้อย่างมั่นคงภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และนำไปสู่ความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนชาวไทย

ความสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง
เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2540 ทรงมีพระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคลในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดาพระราชวังดุสิตฯเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มเติมว่า


“….คำว่าเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ไม่มีในตำรา ไม่เคยมีระบบเศรษฐกิจพอเพียง มีอย่างอื่นแต่ไม่ใช้คำนี้ ปีที่แล้วพูดว่าเศรษฐกิจพอเพียงเพราะหาคำอื่นไม่ได้และได้พูดอย่างหนึ่งว่า เศรษฐกิจพอเพียงนี้ ให้ปฏิบัติเพียงครึ่งเดียวคือ ไม่ต้องทั้งหมด หรือแม้จะเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอ ในคราวนั้นเมื่อปีที่แล้วนึกว่าเข้าใจกัน แต่เมื่อไม่นานเดือนที่แล้วมีผู้ที่ควรจะรู้ เพราะว่าได้ปฏิบัติเกี่ยวกับการพัฒนามาช้านานแล้วมาบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียง นี่ดีมาก แล้วก็เข้าใจว่าปฏิบัติเพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอนั้น หมาย ความว่า ถ้าทำได้เศษหนึ่งส่วนสี่ของประเทศก็จะพอ ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง และทำได้เพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอนั้น ไม่ได้แปลว่าเศษหนึ่งส่วนสี่ของพื้นที่ แต่เศษหนึ่งส่วนสี่ของการกระทำ ต้องพูดเข้าในเรื่องเลย เพราะหนักใจว่า แม้แต่คนที่เป็นดอกเตอร์ก็ไม่เข้าใจ อาจจะพูดไม่ชัดแต่เมื่อกลับไปดูที่เขียนจากที่พูดก็ชัดแล้วว่าควรจะปฏิบัติ เศรษฐกิจพอเพียงไม่ต้องทั้งหมด เพียงครึ่งหนึ่งก็ ใช้ได้ แม้จะเป็นเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอ หมายความว่า วิธีปฏิบัติเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ไม่ต้องทำทั้งหมดและขอเติมว่าถ้าทำทั้งหมดก็จะทำไม่ได้?ฉะนั้นจึงพูดว่า เศรษฐกิจพอเพียง ปฏิบัติเพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ก็ควรจะพอ และทำได้ อันนี้เป็นข้อหนึ่ง ที่จะอธิบายคำพูดที่พูดมาเมื่อปีที่แล้ว..”
“…คำว่าพอเพียงมีความหมายอีกอย่างหนึ่ง มีความหมายกว้างออกไปอีก ไม่ได้หมายถึงการมีพอสำหรับใช้เองเท่านั้น แต่มีความหมายว่าพอมีพอกิน พอมี พอกินนี้ ถ้าใครได้มาอยู่ที่นี่ ในศาลานี้ เมื่อเท่าไหร่ 20,24 ปี เมื่อปี 2517 ถึง 2541 นี้ ก็ 24 ปีใช่ไหมวันนั้น ได้พูดว่า เราควรจะปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดีและประเทศไทย เวลานั้นก็เริ่มจะไม่พอมี พอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย สมัยก่อนนี้พอมีพอกิน มาสมัยนี้ชักจะไม่พอมีพอกิน จึงต้องมีนโยบายที่จะทำเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อที่จะให้ทุกคนมีพอเพียงได้…”

“…ให้พอเพียงนี้ก็หมายความว่า มีกินมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้ แต่ว่าพอ แม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือย แต่ถ้าทำให้มีความสุข ถ้าทำได้ก็สมควรที่จะทำ สมควรที่จะปฏิบัติ อันนี้ก็ความหมายอีกอย่างของเศรษฐกิจหรือระบบพอเพียงเมื่อปีที่แล้วตอนที่ พูด พอเพียงแปลในใจแล้วก็ได้พูดออกมาด้วยว่าจะแปลเป็น Self-sufficiency (พึ่งตนเอง) ถึงได้บอกว่าพอเพียงแก่ตนเอง แต่ความจริงเศรษฐกิจพอเพียงนี้กว้างขวางกว่าSelf-sufficiency คือ Self- sufficiencyนั้น หมายความว่า ผลิตอะไรมีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอซื้อคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง(พึ่งตนเอง).. เป็นตามที่เขาเรียกว่ายืนบนขาของตัวเอง (ซึ่งแปลว่าพึ่งตนเอง) …แต่พอเพียงนี้ มีความหมายกว้างขวาง ยิ่งกว่านี้อีก คือ คำว่าพอก็เพียงพอ เพียงนี้ก็พอ ดังนั้นเอง คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิด “อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ” มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียงทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง…”

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ
และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลง
                มีหลักพิจารณา ดังนี้
                กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น
โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา
และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ
เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
                คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ
โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
                คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้
1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกิดไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
                เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรุ้
และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน
และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
2. เงื่อนไขความมีคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต
และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ
การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ
สังคมสิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี
พระราชดำริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง
“…การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป…” (๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๗)



“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานมานานกว่า ๓๐ ปี เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องมี “สติ ปัญญา และความเพียร” ซึ่งจะนำไปสู่ “ความสุข” ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง


“…คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธาน ในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้…” (๔ ธันวาคม ๒๕๑๗)
พระบรมราโชวาทนี้ ทรงเห็นว่าแนวทางการพัฒนาที่เน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นหลักแต่เพียงอย่างเดียวอาจจะเกิดปัญหาได้ จึงทรงเน้นการมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่ในเบื้องต้นก่อน เมื่อมีพื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควรแล้ว จึงสร้างความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น
ซึ่งหมายถึง แทนที่จะเน้นการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมนำการพัฒนาประเทศ ควรที่จะสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจพื้นฐานก่อน นั่นคือ ทำให้ประชาชนในชนบทส่วนใหญ่พอมีพอกินก่อน เป็นแนวทางการพัฒนาที่เน้นการกระจายรายได้ เพื่อสร้างพื้นฐานและความมั่นงคงทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ก่อนเน้นการพัฒนาในระดับสูงขึ้นไป
                   ทรงเตือนเรื่องพออยู่พอกิน ตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ คือ เมื่อ ๓๐ กว่าปีที่แล้ว
                   แต่ทิศทางการพัฒนามิได้เปลี่ยนแปลง

“…เมื่อปี ๒๕๑๗ วันนั้นได้พูดถึงว่า เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี และประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย…” (๔ ธันวาคม ๒๕๔๑)
ขอบคุณที่มา : supapornnormal.wordpress.com

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ส่งเสด็จสู่สวรรค์คาลัย


การเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ได้ยังความเศร้าโศกเสียใจแก่บรรดาพสกนิกรชาวไทยทั้งประเทศ นับเป็นความสูญเสียอันยิ่งใหญ่ที่สุด  นับเป็นความสูญเสียอันยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศชาติและประชาชน เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนทั้งประเทศ 
ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ และทรงเป็นที่เคารพสักการะของปวงชนชาวไทย
                                                                           


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงยึดมั่นในหลักทศพิธราชธรรม อันได้แก่ ทาน ศีล ปริจจาคะ ความเสียสละ อาชชวะ ความซื่อตรง มัทวะ ความอ่ความอ่อนโยน ตปะ ความเพียรพยายาม อักโกธะ ความไม่โกรธ อวิหิงสา คือพระราชอัธยาศัยที่กอปรด้วยพระมหากรุณา ขันติ ความอดทน และอวิโรธนะ ทรงยึดมั่นในขัตติยราชประเพณี

                                                                                   

พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกรชาวไทยเป็นล้นพ้น ตลอดระยะเวลาที่ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลกถึง 70 ปี ทรงครองเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนประชาชนทั่วประเทศ แม้แต่ในท้องถิ่นทุรกันดารในชนบท เพื่อทรงรับทราบปัญหา และทรงช่วยเหลือประชาชนในการแก้ปัญหา ก่อให้เกิดโครงการอันสืบเนื่องมาจากพระราชดำริมากมาย
                                                                               
                                                                               



พระองค์ทรงยึดมั่น ในพระปฐม บรมราชโองการที่ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ทรงศึกษาปัญหาการทำมาหากินของประชาชน โดยเฉพาะการเกษตร ซึ่งเป็นอาชีพขอวคนส่วนใหญ่ และพัฒนามาเป็นหลักเศรษฐกิจพอเพียง อันได้แก่ ความพอมี ความพอกิน และพึ่งตนเองได้ เป็นทฤษฎีที่ประชาชนน้อมนำมาเป็นหลักปฏิบัติโดยทั่วไป

                                                                                 




พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยเคยทรงมีพระราชดำรัสในทำนองว่า ในการปฏิบัติพระราชกิจทุกประการ พระองค์ทรงยึดมั่นในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระบรมราชโองการทุกอย่าง ต้องมีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทุกประการ เพื่อประโยชน์ของประชาชน

                                                                         

ด้วยอานุภาพแห่งพระราชกุศลผล บุญเป็นอเนกอนันต์ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงบำเพ็ญมาเป็นเวลายาวนาน รวมทั้งผลบุญกุศลอันเกิดจากการที่พระองค์ทรงทะนุบำรงพระพุทธศาสนา ในฐานะองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก ด้วยอานุภาพแห่งคุณงามความดีทั้งปวง ที่พระองค์ทรงปฏิบัติ และด้วยอานุภาพแห่งบุญกุศลที่พสกนิกรทั่วประเทศบำเพ็ญถวายเป็นพระราชกุศล ขอให้พระองค์เสด็จสู่สวรรคาลัย ในสัมปรายภพ.




ขอบคุณที่มา:http://www.thairath.co.th/content/753366

วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป


ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป” 

คนไทยรู้จักมักคุ้นกันอย่างมาก เมื่อครั้งคุณอัสนี วสันต์ ได้ขับร้องเพลงนี้ ซึ่งเนื้อหาในเพลงกินใจ และสัมผัสได้ถึงความอบอุ่น และความรักที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร มีให้กับพสกนิกรไทย และพสกนิกรไทยทุกคนมีให้พระองค์ เนื้อเพลงนี้ คำร้องและทำนอง แต่งโดย คุณนิติพงษ์ ห่อนาค ได้ถูกนำมาเปิดให้ประชาชนทั้งประเทศได้รับฟัง เมื่อครั้งพระราชพิธีการเสด็จออกมหาสมาคมในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ ซึ่งหากใครได้รับฟังก็จะรู้สึกซาบซึ้งใจจนน้ำตาเอ่อล้นอย่างแน่นอน

ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป ในยุคปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ จวบจนปัจจุบัน ความหมายยังคงเช่นเดิม ดั่งที่ท่านสุนทรภู่ประพันธ์ไว้ ความจงรักภักดีของพสกนิกรไทยที่มีต่อองค์เหนือหัว ก็ไม่เคยเปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนไป หากแต่มีมากขึ้น และมากยิ่งๆ ขึ้นไปทุกครั้งที่เรารำลึกถึงพระองค์
…. ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
มอบชีวิต ด้วยกายและใจ
จะต้องเหนื่อยล้า โรยแรงเท่าไร
จะขอจงรักภักดี

ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป

มอบชีวิต ด้วยกายและใจ
จะต้องเหนื่อยล้า โรยแรงเท่าไร
จะขอจงรักภักดี ทุกชาติไป ….

ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป หากเพียรทำความดี

ตามรอยพระราชดำรัส และคำสอนขององค์เหนือหัว 

สิ่งที่ปรารถนาย่อมมีความสำเร็จจริงแท้อย่างแน่นอน

คือ การได้เป็น ข้ารองพระบาททุกชาติไป 

ขอบคุณที่มาhttp://www.bagindesign.com/%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%8A/